ความซื่อสัตย์กับการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่
ผู้เขียนอ่านบทความจากวารสารการศึกษาของต่างประเทศ หลายฉบับต่างพากันกล่าวถึงความสำคัญของความซื่อสัตย์ ซึ่ง จำเป็นต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพราะถือว่าเป็นหัวใจ สำคัญ ขณะนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมต่างๆ อย่างมาก เนื่อง จากบุคคลมีความซื่อสัตย์สุจริตน้อยลง จึงนับเป็นเรื่องแปลกคือ แทนที่ครูและนักการศึกษาจะกล่าวถึงปัญหาการอ่าน – เขียน หรือการคิดคำนวณ แต่กลับมองที่ปัญหาของความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งบุคคลในสังคมละเลยและอาจจะส่งผลต่อคุณภาพของเด็กที่ จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตด้วย
ในประเทศไทยจะพบคำว่า ซื่อสัตย์ ปรากฏในหนังสือ พิมพ์เกือบทุกวันและเกือบทุกฉบับ ซึ่งมักจะใช้คำนี้กับแวดวง การเมือง และการปฏิบัติงานประเภทต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นระดับสูงหรือต่ำ ต่างเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีความ ซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรพัฒนาไปได้ วงการศึกษายังไม่ได้พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในการสอนภาษาไทย แม้ จะมีการประเมินจิตพิสัยตามสภาพจริงของผู้เรียน แต่ความ ซื่อสัตย์ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่างช่วยในการ พิจารณาตัดสินผู้เรียน ข้อสำคัญก็คือมิได้มีการเน้นกันอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นครูหรือบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
คำว่า “ ซื่อสัตย์ ” ตามความหมายที่พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ . ศ .2542 กล่าวไว้ หมายถึง ประพฤติกรรม ตรงและจริงใจ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ถ้าพิจารณาตามความ หมายนี้จะพบว่า เป็นหลักธรรมของทุกศาสนาที่มุ่งสอนให้บุคคล เป็นคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงาน ทั้งต่อตนเอง และต่อส่วนรวม เช่น สถาบันครอบครัว หัวหน้าครอบครัวมีความ ซื่อสัตย์ต่อสมาชิกในครอบครัวและต่อหน้าที่การงานที่ทำโดยสุจริต ส่วนเด็กก็ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเองและต่อสังคม เช่น สังคมใน ครอบครัว สังคมในโรงเรียนเหล่านี้เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หาก พิจารณานิยามของคำนี้แล้วจะเห็นว่ามีความหมายสั้นๆ เข้าใจง่าย แต่เป็นนามธรรมที่ยากต่อการปฏิบัติ ต้องอาศัยการฝึกฝน นัก การศึกษาและนักจิตวิทยาการศึกษาในยุคอดีตและปัจจุบันมี ความคิดตรงกันว่า ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่จะช่วยปลูกฝังให้ เด็กมีนิสัยซื่อสัตย์สุจริต ฝึกให้เด็กรู้จักละอายต่อการหลอกลวง และการพูดปด ให้เด็กรู้สึกว่า ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและ มีเกียรติ ไม่สามารถแสวงหาได้ด้วยเงินทองแต่ได้มาจากการ ประพฤติดีและปฏิบัติดี จึงจะเป็นที่ยอมรับแก่บุคคลในสังคม
สังคมมักจะคาดหวังว่านอกจากจะปลูกฝังความซื่อสัตย์ สุจริตให้กับเด็กแล้ว ทางบ้านควรปลูกฝังคุณธรรมด้านอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องด้วยอาทิ เช่น การไม่พูดปด ความยุติธรรม การไม่ดูถูก เหยียดหยามผู้อื่น รวมทั้งความสุขสงบและรักสันติ คุณธรรม ดังกล่าวนี้ช่วยเสริมสร้างให้สังคมมีความสุข สำหรับการพูดปด นั้น ผู้ใหญ่บางคนอาจเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับเด็ก แต่ จะมีผลเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยพูดปดเป็นนิสัย จนยากที่ จะแก้ไข การพูดปดมีส่วนทำให้ขาดความซื่อสัตย์ ดังนั้น เมื่อ ผู้ใหญ่รู้ว่าเด็กพูดปดต้องตักเตือนให้เหตุผลและไม่ยอมให้พูด ปดอีกในครั้งต่อไป ส่วนคุณธรรมในด้านอื่นๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็เป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องเริ่มต้นสร้างตั้งแต่ที่บ้านก่อนที่ เด็กจะก้าวเข้าสู่สถานศึกษา
โรงเรียนเป็นสถานศึกษาต่อมาจากบ้าน มีบทบาท สำคัญในการจัดกระบวนการเรียนเพื่อให้เด็กมีจิตพิสัยในเรื่อง คุณธรรมของความซื่อสัตย์เป็นที่น่าสังเกตในช่วงระยะเวลา 5 ปี ของการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาของประเทศในยุโรป และ อเมริกา ( ค . ศ .2000-2004) ได้พบว่า มีปัญหาเกิดขึ้นหลายอย่าง ที่ ปรากฏชัดกับผู้เรียนถึงคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งรวมทั้งความ ซื่อสัตย์มีคุณภาพลดลง สังคมที่เคยสุขสงบกลับมีปัญหา ราก ฐานของปัญหาอาจมีที่มาหลายด้าน แต่สิ่งที่สถานศึกษาจะต้อง แก้ไขคือ การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ให้รับกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชน สิ่งที่ครูเรียกร้องคือ การ นำวิชาสังคมศึกษากลับมาสอนให้เต็มรูปแบบโดยบรรจุหลัก ศาสนาที่เยาวชนแต่ละเชื้อชาตินับถือให้ศึกษาและปฏิบัติอย่าง เป็นรูปธรรม ครูมีความเห็นตรงกันว่าวิชาสังคมศึกษา น่าจะมีบท บาทสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมได้เป็นอย่างดี ภายหลังที่วิชานี้เกือบจะถูกลืมไประยะหนึ่งแล้ว
ภาษาน่าจะเป็นอีกวิชาหนึ่งที่ช่วยพัฒนาความซื่อสัตย์ สุจริตและคุณค่าด้านอื่นๆ ได้ แนวโน้มการปรับปรุงหลักสูตร ภาษาระดับการศึกษาภาคบังคับอาจนำวรรณคดี วรรณกรรม และ นิทานต่างๆ มาใช้เป็นสื่อการเรียนภาษามากขึ้น โดยเลือกเรื่องที่ มีตัวละครแสดงความซื่อสัตย์สุจริต หรือแสดงออกว่าเป็นผู้มีคุณ ธรรมและจริยธรรมในด้านต่างๆ เรื่องที่ได้รับการคัดเลือกเป็น อันดับแรกคือ วรรณกรรมของ Shakespeare รวมทั้งนิทานอื่นๆ อีก เช่น นิทานของ Esop นิทานของ Han Christian Anderson และของบุคคลอื่นๆ ในยุคปัจจุบันที่ได้รับรางวัลซึ่งมีเป็นจำนวน มากในการจัดกิจกรรมควรมุ่งให้เด็กได้อภิปรายแสดงความคิด เห็นถึงบทบาทของตัวละคร พฤติกรรม ความประพฤติแสดงนิสัย ที่ดีอันแสดงออกให้ปรากฏเป็นที่น่าภาคภูมิใจโดยสามารถใช้เป็น แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้เรียนได้ต่อไป
สำหรับในประเทศไทยได้มีการนำวรรณคดี วรรณ กรรม และนิทานพื้นบ้านต่างๆ มาใช้เป็นสื่อการเรียนภาษาไทยอยู่ แล้ว ตัวละครเหล่านั้น ได้แสดงออกในคุณค่าของความซื่อสัตย์ เช่น เรื่องรามเกียรติ์ ความซื่อสัตย์จงรักภักดีของนางสีดาที่มีต่อ พระราม ความจงรักภักดีต่อเจ้านาย เช่น หนุมาน มีต่อพระราม นอกจากนั้นยังมีตัวละครอื่นๆ อีก แม้ในประวัติศาสตร์อันเกี่ยว ข้องกับชีวิตจริงที่มีตัวอย่างก็มีตัวอย่างบุคคลแสดงความซื่อสัตย์ จงรักภักดีอย่างเช่น พระยาพิชัย ( ดาบหัก ) มีต่อสมเด็จพระเจ้าตาก สินมหาราช และต่อชาติบ้านเมือง นอกจากนี้ยังมีวีรบุรุษและวีร สตรีอีกมากที่นักเรียนได้ศึกษาจากบทเรียนภาษาไทย แต่การจัด กิจกรรมการเรียนการสอนยังมิได้ลงลึกมากนัก เพราะจะเน้น ทักษะทางด้านภาษาเป็นสำคัญ
ความซื่อสัตย์เป็นตัวบ่งชี้สำคัญอันมีอิทธิพลต่อสมาชิก ในครอบครัว ต่อเพื่อน และต่อบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะนำพาไป สู่ความเจริญรุ่งเรือง หากบุคคลมีความซื่อสัตย์ต่อกัน ณ บัดนี้ มา ถึงจุดหนึ่งที่พบว่า สังคมกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ แม้ ปัญหาจะเกิดจากผู้ใหญ่แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีสำหรับเด็ก ทำให้ ครูในยุโรปและอเมริกาเริ่มมีการเคลื่อนไหวที่จะปรับหลักสูตร โดยเน้นคุณธรรมของความซื่อสัตย์สุจริต ถ้าหันกลับมาดูหลัก สูตรการจัดการศึกษาภาคบังคับของไทยบ้าง น่าจะพิจารณาว่าได้ เน้นคุณธรรมและจริยธรรมในจุดใดเป็นพิเศษ สอดคล้องกับ ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยจริงหรือไม่ กระบวนการเรียนการ สอนที่ครูจัดให้นักเรียนมีส่วนช่วยให้นักเรียนได้คิดวิจารณญาณ ในการหลีกเลี่ยงหรือแก้ปัญหาอย่างไร หากพิจารณาแล้วความ ซื่อสัตย์สุจริตก็เป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคม เช่นเดียวกับ ความรับผิดชอบในหน้าที่ การเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น รวมทั้งปัญหา อื่นๆ อีก ซึ่งการศึกษายังมิได้เน้นมากนัก แต่จะเน้นความรู้ทาง ด้านวิชาการเป็นประเด็นสำคัญ บางทีอาจจะต้องรอให้มีการ ปฏิรูปการศึกษาอีกครั้งหนึ่ง คงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของ ความซื่อสัตย์เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
ขอขอบคุณ www.dak-d.com ที่ให้ขอมูลนี้นะคะ^^
วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555
ตัวชี้วัด
1. อ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรองได้ไพเราะถูกต้อง
2. ตีความ แปลความและขยายความได้
3. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่านได้
4. ประเมินค่าเรื่องที่อ่าน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. แสดงความคิดเห็นโต้แย้งเรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล
6. ตอบคำถามเรื่องที่อ่านได้
7. มีมารยาทในการอ่าน
8. เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆได้
9. เขียนเรียงความได้
10. เขียนย่อความได้
11. ผลิตงานเขียนของตนเองในรูแแบบต่างๆได้
12. ประเมินผลงานของผู้อื่นเพื่อนำมาพัฒนางานของตนเองได้
13. เขียนรายงานเชิงวิชาการได้
14. บันทึกการค้นคว้า เพื่อพัฒนาตนเองได้
15. มีมารยาทในการเขียน
16. ประเมินเรื่องที่ฟัง และดูและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
17. มีวิจารณญาณเลือกเรื่องที่ฟังและดู
18. พูดในโอกาสต่างๆได้
19. มีมารยาทในการฟัง การดู การพูด
20.แต่งบทร้อยกรองได้
21. วิเคาระห์อิทธิพลภาษาต่างประเทศและภาษาอื่นได้
22. อธิบายและวิเคาราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้
23. วิเคราะห์แลประเมินการใช้ภาษาในสื่อต่างๆได้
24 วิเคราะห์และวิจารร์วรรณคดีในวรรณกรรมได้
25. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดี เชื่อมโยงความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้
26. ประเมินค่าวรรณศิลป์ วรรณคดี วรรณกรรมได้
27. สังเคราะห์ข้อคิด วรรณคดีและวรรณกรรมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
28. ท่องอาขยานที่มีคุณค่าได้
1. อ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรองได้ไพเราะถูกต้อง
2. ตีความ แปลความและขยายความได้
3. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่านได้
4. ประเมินค่าเรื่องที่อ่าน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. แสดงความคิดเห็นโต้แย้งเรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล
6. ตอบคำถามเรื่องที่อ่านได้
7. มีมารยาทในการอ่าน
8. เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆได้
9. เขียนเรียงความได้
10. เขียนย่อความได้
11. ผลิตงานเขียนของตนเองในรูแแบบต่างๆได้
12. ประเมินผลงานของผู้อื่นเพื่อนำมาพัฒนางานของตนเองได้
13. เขียนรายงานเชิงวิชาการได้
14. บันทึกการค้นคว้า เพื่อพัฒนาตนเองได้
15. มีมารยาทในการเขียน
16. ประเมินเรื่องที่ฟัง และดูและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
17. มีวิจารณญาณเลือกเรื่องที่ฟังและดู
18. พูดในโอกาสต่างๆได้
19. มีมารยาทในการฟัง การดู การพูด
20.แต่งบทร้อยกรองได้
21. วิเคาระห์อิทธิพลภาษาต่างประเทศและภาษาอื่นได้
22. อธิบายและวิเคาราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้
23. วิเคราะห์แลประเมินการใช้ภาษาในสื่อต่างๆได้
24 วิเคราะห์และวิจารร์วรรณคดีในวรรณกรรมได้
25. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดี เชื่อมโยงความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้
26. ประเมินค่าวรรณศิลป์ วรรณคดี วรรณกรรมได้
27. สังเคราะห์ข้อคิด วรรณคดีและวรรณกรรมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
28. ท่องอาขยานที่มีคุณค่าได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)